มาตรฐานอาหารทั่วไปและระดับสากลสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารคือหนึ่งในปัจจัยหลักที่มนุษย์ใช้ในการดำรงชีพ เมื่อมีจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารมากขึ้น ดังนั้น การผลิตเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การผลิตที่มีปริมาณและจำนวนมากขึ้นย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดมากขึ้นเช่นกันจึงทำให้ต้องมีมาตรฐานเข้ามาควบคุมทั้งด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่ระดับมาตรฐานอาหารทั่วไป ไปจนถึงมาตรฐานอาหารระดับสากล ทั้งอยู่ในรูปแบบภาคบังคับ หรือภาคความสมัครใจของแต่ละโรงงานอาหาร

 

ปัจจุบันมาตรฐานระดับสากลมีผลกระทบต่อการค้าอย่างรุนแรง ในอุตสาหกรรมอาหารต้องยกให้มาตรฐานของภาคเอกชนที่มีผลต่อการค้าระหว่างประเทศ คือ The Global Food Safety Initiative หรือ GFSI ที่มีผลกระทบต่อการซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดย GFSI เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีหน่วยงาน CIES-The Food Business Forum เป็นผู้ประสานการดําเนินงาน และมีคณะกรรมการบริหารมูลนิธิทําหน้าที่กําหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์และบริหารห่วงโซ่การผลิตอาหาร โดยมีแนวคิดที่ต้องการจัดทําระบบการรับรองที่สามารถลดความซ้ำซ้อน โดยมาตรฐานที่ได้รับการรับรองภายใต้ GFSI ณ ปัจจุบันมีทั้งหมดด้วยกัน 11 มาตรฐาน

 

นอกเหนือจากนี้ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ได้แก่ SQF (The Safe Quality Food) Edition 8, CanadaGAP Version 7.1, Global Aquaculture Alliance Seafood Processing, Global GAP ภายใต้ชื่อมาตรฐาน IFA Version 5.2, GRMS (Global Red Meat Standard) Version 6.0, PrimusGFS Version 3.0, JFSM (Japan Food Safety Management Association) ภายใต้ชื่อมาตรฐาน JFS-C Version 2.3 และ JGF (Japan GAP Foundation) ภายใต้ชื่อมาตรฐาน ASIAGAP version 2.1 ซึ่งได้รับการรับรองภายใต้ GFSI เช่นกัน

 

ขอขอบคุณ : www.foodfocusthailand.com