มาตรฐาน ISO 22000 หรือมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร อยู่ระหว่างการพัฒนาจากฉบับ ปี 2005 เป็น ISO 22000 :2018 ซึ่งคาดว่าจะประกาศในเดือนมิถุนายน 2018 โดยปัจจุบันสถานะเป็นฉบับร่างมาตรฐานสากล (Draft International Standard: DIS) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการจัดการที่สำคัญและได้รับความนิยมในระดับสากลที่มุ่งเน้นในการจัดการความปลอดภัยและการควบคุมอันตรายในกระบวนการผลิต และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของมาตรฐานดังกล่าว คือ
- การเปลี่ยนโครงสร้างมาตรฐานสู่ โครงสร้างระดับสูง (High level structure : HLS) ซึ่งเป็นโครงสร้างมาตรฐานใหม่ของ ISO ที่ยกระดับจาก Operational Level เป็น Strategic Level เพื่อให้มาตรฐานมีความสอดคล้อง ชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจและการนำไปใช้ โดยเฉพาะกับองค์กรที่นำมาตรฐานหลายๆ ฉบับไปประยุกต์ใช้ และอ้างอิงกับ ISO 9001: 2015
- แนวทางการจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้มีความเข้าใจความเสี่ยงและแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันในแต่ละระดับของการดำเนินงาน (Operation Level & Strategic Level)
- วงจร Plan-Do-Check-Act (PDCA) ซึ่งจะมีความชัดเจนกระหว่าง วงจร PDCA ที่ครอบคลุมระบบการจัดการ และ วงจร PDCA ที่ครอบคลุมหลักการของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP) ที่นำมาใช้ควบคู่กัน
- กระบวนการผลิต ที่จะอธิบายความแตกต่างระหว่าง จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Points : CCPs), มาตรการควบคุมที่ได้จากการวิเคราะห์อันตราย เพื่อควบคุมอันตรายที่ระบุให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย (Operational Prerequisite Programmes : OPRPs) และ มาตรการควบคุมที่ใช้จัดการกับกิจกรรมและสภาวะพื้นฐาน (Prerequisite Programmes : PRPs)
ISO 22000: 2005 | ISO/DIS 22000: 2018 |
0 บทนำ | 0 บทนำ |
1 ขอบข่าย | 1 ขอบข่าย |
2 Normative references | 2 Normative references |
3 Terms and definitions | 3 Terms and definitions |
| 4 Context and Organization |
4 Food safety management system | 6 Planning |
5 Management responsibility | 5 Leadership |
6 Resource management | 7 Support |
7 Planning and realization of safe products | 8 Operation |
8 Validation, verification and improvement of the food safety management system | 9 Performance evaluation of the food safety management system 10 Improvement |
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 22000: 2005 ผู้ประกอบการที่มีความสนใจหรืออยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการที่เกี่ยวข้อง ควรติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวและดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ประเด็นด้านความปลอดภัยของบุคลากรในการผลิต ผู้บริโภค ร่วมถึงผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีมาตรการหรือวิธีการให้การควบคุมดูแล ซึ่งมาตรฐานระบบการจัดการ ISO 22000 ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้องค์กรดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา : http://intelligence.masci.or.th